วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

การปลูกผลไม้


การปลูกผลไม้


  เรื่อง  การปลูกไม้ผล

สาระสำคัญ

                 การปลูกไม้ผล เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างมาก เพราะการปลูกไม้ผลสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายครั้งและสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ที่สามารถเก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น แต่การปลูกไม้ผลจะต้องเรียนรู้การวางแผนและศึกษากระบวนการผลิตอย่างถูกต้องและเหมาะสมจึงจะทำให้การผลิตอย่างถูกต้องและเหมาะสมจึงจะทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ต้องสามารถหาตลาดจำหน่ายผลผลิตได้อีกด้วย


รายระเอียดสาระการเรียนรู้


               การศึกษาเรื่องการปลูกไม้ผลสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1.   ความหมายและความสำคัญ

          1.1  ความหมายของไม้ผล

     ไม้ผล หมายถึง ไม้ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ที่มีอายุหลายปี และให้ผลที่ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ซึ่งเราเรียกผลนี้ว่าผลไม้

     ผลไม้สดแม้จะไม่ใช่อาหารสดก็ตาม แต่ก็จัดเป็นอาหารเสริมที่ขาดไม่ได้เป็นพืชที่ให้ทั้งวิตามินและเกลือแร่หลายชนิดที่ไม่มีหรือมีน้อยในอาหารหลักหรืออาจจะสูญเสียได้ง่ายในระหว่างที่ปรุงอาหารด้วยความร้อน เช่น วิตามินซี การปรุงอาหารโดยใช้ความร้อนจะทำให้วิตามินซีสลายตัวไป ดังนั้นการรับประทานอาหารสดเหล่านี้จึงช่วยเสริมสร้างในส่วนที่ขาดไปและทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเป็นปกติโดยเฉพาะระบบขับถ่าย ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและอื่นๆ ผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงไม่จำเป็นจะต้องมีราคราแพง ผลไม้ในบ้านเรามีหลายชนิด ปลูกง่าย ราคาถูกและให้คุณค่าทางอาหารสูง  เช่น  ฝรั่ง กล้วย มะละกอ สัปปะรด น้อยหน่า มะไฟ เป็นต้น

          1.2  ความสำคัญของผลไม้

                     1.2.1  ผลไม้ช่วยสร้างความมั่นคงของประเทศ

                     1.2.2  ผลไม้เป็นอาหารสำคัญที่ช่วยป้องกันโรค

                     1.2.3  ไม้ผลให้ผลผลิตสูงต่อหน่วยต่อพื้นที่ช่วยสร้างรายได้แก่เกษตรกรผู้ผลิต

                     1.2.4  ให้พลังงานแก่ร่างกายของผู้บริโภค

                     1.2.5  ไม้ผลอาจทำรายได้ให้กับประชากรและประเทศเป็นจำนวนมาก

2.  วัตถุประสงค์ในการปลูกไม้ผล

          วัตถุประสงค์ในการปลูกไม้ผล  การปลูกไม้ผลภายในโรงเรียนนั้นโดยทั่วไปแล้ว มีวัตถุประสงค์ดังนี้

          2.1  ประดับบริเวณโรงเรียนให้สวยงามกับการควบคู่กับการใช้ประโยชน์จากร่มเงาของไม้ผลเพื่อเป็นที่พักผ่อนของนักเรียน ถ้าเป็นกรณีนี้ควรเลือกไม้ผลที่มีลำต้นใหญ่ ให้ร่มเงาได้ดี มีพุ่มต้นและใบสวย และผลไม่เป็นอันตราย เช่น  มะม่วง  เงาะ  ขนุน  ส้มโอ  มะขาม  มังคุด  กระท้อน  เป็นต้น

          2.2  ปลูกเพื่อเป็นแปลงฝึกปฏิบัติการดูแลและการขยายพันธุ์  ควรเป็นไม้ผลพุ่มค่อนข้างเตี้ย  เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงานของนักเรียน  เช่น  มะม่วง  มะขาม ( ต้องคอยดูแลอย่าให้พุ่มต้นสูงมาก ) ฝรั่ง ละมุด น้อยหน่า  เป็นต้น

          2.3  ปลูกเพื่อต้องการผลผลิตใช้ในโครงการอาหารกลางวัน  ให้นักเรียนมีผลไม้รับประทานตลอด  ควรเลือกไม้ผลที่ดูแลรักษาง่าย ให้คุณค่าทางอาหารสูง ออกดอกออกผลตลอดทั้งปี เช่น ฝรั่ง ละมุด กล้วย มะพร้าว ทับทิม มะละกอ เป็นต้น

          2.4  ปลูกง่าย ดูแลรักษาง่าย โตเร็ว เป็นข้อที่ควรคำนึงถึงอย่างยิ่ง

          2.5  สภาพพื้นที่และการใช้พื้นที่ของโรงเรียนต้องเหมาะสม โดยเฉาะอย่างยิ่งการปลูกไม้ผลควบคู่กับการปลูกผัก และไม้ดอกไม้ประดับที่ต้องการแสงแดดจัด ต้องคำนึงถึงร่มเงาจากไม้ผลที่จะไปรบกวนไม้ผักด้วย

3.  การเลือกชนิดของไม้ผลที่จะปลูก

          การที่จะเลือกปลูกไม้ผลชนิดใด ควรพิจารณาความต้องการสภาพดินฟ้าอากาศของไม้ผลแต่ละชนิด ต้องพิจารณาให้ถูกต้องเหมาะสมมีหลักพิจารณา  ดังนี้

          3.1 ไม้ผลที่ต้องการอากาศค่อนข้างร้อนและชื้น ต้องการความชื้นในดินและในอากาศค่อนข้างสูง เช่นเงาะ ทุเรียน มังคุด ลางสาด มะไฟ เป็นต้น พวกนี้เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศเย็น ฝนตกชุก เช่น ทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และบางส่วนของภาคกลาง

          3.2  ไม้ผลที่ต้องการอากาศกึ่งร้อน เช่น ลิ้นชี่ ลำไย จะเจริญเติบโตได้ดีทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในบริเวณที่มีอากาศเย็นบางจังหวัด เช่น อำเภอปางช่อง จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเลย  เป็นต้น

          3.3  ไม้ผลที่ต้องการอากาศเย็นจัด โดยเฉาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีน้ำค้างและหมอกจัด เช่น สตรอเบอร์รี่ แอปเปิ้ล ท้อ เป็นต้น ไม้ผลเหล่านี้ จะสามารถเติมโตได้ดีทางภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแถบภูเขาสูง  ที่มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี

          3.4  ไม้ผลที่ปลูกได้ทั่วๆไป แม้แต่ในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง และอากาศร้อนจัดก็สามารถเจริญเติบโตได้ เช่น มะม่วง ขนุน ละมุด ฝรั่ง น้อยหน่า  เป็นต้น

4.  การออกแบบผังการปลูกไม้ผล

          4.1  ข้อควรคำนึงในการวางผังระยะปลูกไม้ผล  ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

                   4.1.1  เพื่อให้จำนวนต้นมากที่สุด

4.1.2  ระยะปลูกที่เหมาะสม

                   4.1.3  เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน

          4.2  การวางระยะการปลูกไม้ผล  การวางผังปลูกไม้ผลจะมีระบบการวางผัง หลายวิธี  ดังนี้

                    4.2.1 ระบบการปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส  (Square  system) คือการวางไม้ผลให้ทุกด้านห่างกันเท่ากับ 4 ต้น วิธีนี้มีข้อเสียคือ    จะ     ทำให้พื้นที่ตรงจุดกึ่งกลางของต้นทั้งสี่ไม่ได้ประโยชน์ แต่จะสามารถใช้เครื่องมือไถพรวน การให้น้ำ  การบำรุงรักษาได้สะดวก

                   4.2.2 ระบบการปลูกแบบสี่เหลี่ยมแซมกลาง (Filler  system) คือการวางผังปลูกไม้ผลคล้ายสี่เหลี่ยมแตกต่างกันตรงระหว่างต้นนั้นจะปลูกไม้ผล 1 ต้น ระบบนี้ไม่นิยมใช้ปลูกพืชถาวร เว้นแต่ว่าระยะปลูกห่างกัน 15 เมตร

                   4.2.3 ระบบการปลูกแบบหกเหลี่ยม (Septuple  system) คือการวางผังปลูกแบบหกเหลี่ยม ซึ่งระบบนี้สามารถเพิ่มจำนวนไม้ผลได้มากกว่า ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ยากแก่การดูแลและปฏิบัติงาน

                   4 .2.4 ระบบการปลูกแบบระดับพื้นที่กำหนด ( Contour system) คือการวางผังปลูกโดยอาศัยระดับความสูงต่ำของพื้นที่ในระหว่างแนวคันดิน ระบบนี้ ระยะระหว่างต้นระหว่างแถวไม่เท่ากัน

                             ระยะปลูกเป็นความห่างระหว่างตำแหน่งปากหลุม ซึ่งระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถว อาจจะเท่ากัน เช่น 5 x 5 เมตร หรืออาจจะไม่เท่ากัน เช่น 5 x 7 เมตร ระยะปลูกไม้ผลขึ้นอยู่กับไม้ผล และทรงพุ่มที่ต้องการ

5.  วิธีการปลูกและดูแลรักษา

          5.1  การเตรียมหลุมปลูก  ขนาดของหลุมปลูกที่จะใช้สำหรับปลูกไม้ยืนต้นนั้น หากสามารถเตรียมได้ขนาดใหญ่ยิ่งดี ขนาดของหลุม กว้าง-ยาว-ลึก ประมาณ 50-100 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิดไม้ผลและสภาพพื้นที่ปลูก ถ้าดินดีก็ขุดหลุมปลูกขนาดเล็กได้ แต่ถ้าดินไม่ค่อยดี ควรขุดหลุมปลูกขนาดใหญ่ จะได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น แล้วผสมดินด้วยปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ เมื่อคลุกเคล้ากันดี ให้กลบดินลงก้นหลุมก่อนปลูก

          5.2  กิ่งพันธุ์ที่นำมาปลูก  กิ่งพันธุ์ไม้ผลที่นำมาปลูกนั้นส่วนใหญ่จะใช้กิ่งทาบ  กิ่งติดตา  และกิ่งตอน  ปกติกิ่งทาบหลังจากตัดแล้วจะถูกนำมาชำไว้ในกระถาง  หรือถุงพลาสติกดำเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะนำไปปลูก  หากเป็นกิ่งตัดที่ตัดมาใหม่ๆจากต้นให้ตัดกิ่งให้มีจำนวนใบเหลือน้อยใบอ่อนที่มีอยู่จะทำให้น้ำระเหยได้มากกว่าส่วนอื่นจึงควรตัดทิ้งเสีย  แช่กิ่งตอนใส่ถุงพลาสติก  กระชุ  หรือกระถาง  โดยตุ้มตอนอยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินประมาณ  2  นิ้ว  ก่อนชำอย่าลืมแกะเอาเชือกและพลาสติกที่หุ้มออกด้วย  จนกระทั่งกิ่งตอนตั้งตัวได้แข็งแรงดีแล้วจึงนำไปปลูก
 
         5.3  วิธีปลูก  เมื่อเตรียมกิ่งพันธุ์เรียบร้อยแล้วจึงลงมือปลูก  โดยถ่ายกิ่งพันธุ์ออกจากกระถางหรือพลาสติกที่ชำไว้  ถ้ามีรากหุ้มด้านนอก  ค่อยๆ  คลี่ให้กางออก  กิ่งตอนเวลาปลูกให้กลบดินบริเวณโคนต้น  สูงกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อย  กิ่งทาบและกิ่งติดตา  เวลาปลูกต้องให้รอยทาบหรือรอยติดตาสูงกว่าระดับดิน  ข้อที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่งคือ  ต้องแกะผ้าพลาสติกที่พันรอยทาบออก  เมื่อตั้งตัวแล้วอย่าลืมทิ้งไว้  เพราะเมื่อต้นไม้มีการขยายขนาดของกิ่ง  ผ้าพลาสติกนี้จะไปรัดจนลงไปในส่วนของเนื้อไม้ทำให้กิ่งหัก  หรือตายได้
          5.4  การดูแลรักษา  การดูแลรักษาไม้ผลหลังจากปลูกแล้ว  นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากความสมบูรณ์ของต้นจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงผลผลิตที่จะได้รับการดูแลไม้ผลที่ควรปฏิบัติดังนี้
                   5.4.1.  การค้ำกิ่ง  สิ่งสำคัญในระยะที่ปลูกใหม่ๆ  คือการตั้งตัวของต้นไม้ถ้าตั้งตัวได้เร็วก็มีโอกาสรอดได้มาก  ทำให้รากสามารถหาอาหาร  และใบสามารถสังเคราะห์แสงได้เร็ว  ต้นก็จะเจริญเติบโตได้ดีขึ้น  วิธีที่ช่วยให้ต้นไม้ที่ปลูกใหม่ตั้งตัวได้เร็วไม่เอนหรือล้มเพระแรงลม  สัตว์  และอื่นๆ  คือการค้ำกิ่งสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน  อาจจะใช้ไม้รวก  1  อัน  ปักยึด  หรือใช้ไม้รวก  2  อัน  หรือ  3  อัน  ยาวประมาณ  1  เมตร   ปักยึดเป็น 3 เส้า  โดยให้ส่วนปลายหันเข้าหาต้นไม้ที่ปลูกไว้และมัดติดกับลำต้นต้องคอยดูบริเวณรอยมัดเสมอ  หากแน่นเกินไปเนื่องจากต้นไม้มีการขยายตัว  ควรคลายออก  และเมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้วจึงปลดออก  หรืออาจป้องกันไม่ใช้เชือกเป็นอันตรายกับต้นไม้โดยการใช้กระสอบป่านพันรอบๆ ลำต้นบริเวณที่ผูกเชือก
                   5.4.2  การคลุมดิน  หลังจากปลูกเรียบร้อยแล้วควรใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรต่างๆ  เช่น  แกลบ  ฟางแห้ง  หญ้าแห้ง  ใบไม้แห้ง  ซังข้าวโพด  และอื่นๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น  คลุมดินบริเวณรอบๆ  โคนต้น  ซึ่งจะเกิดผลดังนี้
                   1 )  ช่วยรักษาความชื้นของดิน  ป้องกันไม่ให้น้ำระเหยไปจากดินอย่างรวดเร็ว  ลดแรงปะทะของเม็ดฝน  และรดน้ำได้สะดวก  ช่วยป้องกันการชะหน้าดิน  และทำให้หน้าดินไม่จับตัวกันแน่น  จึงเก็บซับน้ำไว้ได้ดี
                   2)  ช่วยป้องกันวัชพืช  ถ้าคลุมดินหนาพอ  ทำให้ประหยัดแรงงานในการกำจัดวัชพืช
                   3)  วัสดุคลุมดินเมื่อสลายตัว  ก็จะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินปลูกทำให้ดินโปร่ง  ร่วนซุย  ดูดซับน้ำได้ดี
                   5.4.3  การให้น้ำ  ปกติการให้น้ำไม้ผลจะทำได้ง่ายสะดวกกว่าการให้น้ำพืชผัก  และไม้ดอกไม้ประดับ  หลังจากปลูกไม้ผลในระยะแรกๆ  ควรรดน้ำทุกวัน  จนกว่ากิ่งไม้ผลนั้นจะตั้งตัวได้  แล้วจึงค่อยเว้นระยะเวลาหรือความถี่ในการลดน้ำ  ปกติแล้วเมื่อไม้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้นจะทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร  เมื่อฝนตกอาจหยุดให้น้ำ ½ - 1 เดือน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของไม้ผลและสภาพของดิน  ควรสังเกตจากอาการของต้นไม้ผลจะดีที่สุด  อย่าปล่อยให้ขาดน้ำซึ่งจะมีผลต่อการให้ผลผลิต  นอกจากนี้ระยะที่ต้องระมัดระวังอย่าให้ขาดน้ำ  คือ  ระยะที่เริ่มออกดอก  งดน้ำระยะเวลาที่ดอกบาน  เมื่อติดผลแล้วจึงให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผล  การให้น้ำควรให้น้อยแต่ปล่อยครั้งดีกว่าให้ครั้งละมากๆ  แต่นานๆ ครั้ง  นอกจากนั้นการมีวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น  จะช่วยยืดระยะเวลาในการให้น้ำ  ทำให้ประหยัดเวลาและแรงงานในการให้น้ำด้วย
                   5.4.4  การใส่ปุ๋ย  ปุ๋ยที่ควรใส่ตั้งแต่เริ่มปลูกคือปุ๋ยอินทรีย์ (Organic  Fertilizer)  ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของดินให้ร่วนเหมาะแก่การเจริญเติบโต  ปรับสภาพความเป็นกรดหรือด่างจัดให้มีสภาพเป็นกลาง  และเป็นแหล่งของธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควรใส่อย่างน้อยปีละ  1 – 2  ครั้ง  ส่วนการใส่ปุ๋ยเคมีควรแบ่งใส่ครั้งละน้อยๆ  เพราะปุ๋ยเคมีสลายตัวเร็ว  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้ผล  มีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน  ที่ควรต้องคำนึงถึงก็คือ  อายุของต้นไม้  สภาพของดิน  ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม  ปริมาณน้ำฝน  ชนิดของผลไม้  วิธีการใส่ปุ๋ย  โดยทั่วไปมักใช้การโรยหรือหว่านบริเวณรอบๆ  ทรงพุ่ม  ซึ่งรากที่ทำหน้าที่ในการดูดน้ำและแร่ธาตุอาหารจะอยู่ในบริเวณนี้เป็นส่วนใหญ่  จากนั้นจึงพรวนดินกลบให้ปุ๋ยคลุกเคล้าเข้ากับดิน  นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (Inorganic Fertilizer)  ในไม้ผลจะใส่ตามธาตุอาหารหลัก (Primary-element Fertilizer)  ตามธาตุในโตเจน (N)  ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) โดยมีสูตรทั่วไปในการใส่ปุ๋ยไม้ผล  แบ่งออกตามช่างระยะเวลาการเจริญเติบโตได้ดังนี้
  
                 1)  ช่วงการเจริญเติบโต           N : P : K : = 1 : 1 : 1
                   2)  ช่วงการออกดอก              N : P : K : = 1 : 2 : 1
                   3)  ช่วงการให้ผล                  N : P : K : = 1 : 1 : 2
                   5.4.5 การตัดกิ่ง  การตัดกิ่งต้องศึกษาถึงนิสัยของไม้ผลแต่ละชนิดเป็นอย่างดีก่อนเสมอ  ไม้ผลบางชนิดสามารถตัดแต่งกิ่งออกได้มาก  บางชนิดต้องตัดแต่งทีละน้อย  หากตัดแต่งผิดพลาดอาจจะเกิดผลเสียได้  ถ้ายังไม่แน่ใจควรตัดแต่งแต่น้อยก่อน  ในการตัดแต่งกิ่งไม้ผลมีวัตถุประสงค์ดังนี้
                   1) เพื่อให้ได้ทรงตันที่เหมาะสม  ทำงานได้สะดวก  เช่นการฉีดพ่นสารเคมี  การไถพรวน  การเก็บผล  การตัดแต่งควรทำตั้งแต่ต้นยังเล็กอยู่จนกระทั่งได้รูปทรงตามต้องการ  และคอยตัดแต่งเพื่อให้คงรูปทรงเดิมตลอดไป
                   2)  เพื่อสร้างความแข็งแรงสมบูรณ์ให้กับต้น  กิ่งส่วนหนึ่งเป็นกิ่งที่ไม่มีประโยชน์  เช่น  กิ่งที่เล็กเกินไป  กิ่งที่อ่อนแอ  กิ่งที่คดงอ  กิ่งในพุ่มไม่โดนแดด  กิ่งแก่  กิ่งที่เป็นโรคและแมลงรบกวน  กิ่งเหล่านี้ไม่ได้ให้ดอกให้ผล  และสิ้นเปลืองอาหาร  จึงควรตัดแต่งออกให้หมด  และทำอยู่ตลอดเวลาเมื่อพบเห็นกิ่งที่ไม่ต้องการ
                   3)  เพื่อให้ออกดอก  ไม้ผลหลายชนิดถ้าไม่ตัดแต่งจะไม่ให้ดอกหรือดอกน้อย  เช่น  พุทรา  น้อยหน่า  ฝรั่ง  มะม่วง  เป็นต้น
                   4)  เพื่อป้องกันหรือลดการระบาดของโรคและแมลง  เป็นการตัดแต่งกิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายทิ้งหรือตัดแต่งให้ทรงต้นโปร่งแดดส่องถึง

6.  ระบบที่ใช้ในการตัดแต่งไม้ผล
          ระบบที่นิยมใช้ในการตัดแต่งไม้ผล  แบ่งออกเป็น  3  รูปแบบ  ดังนี้
          6.1  แบบมียอดนำตรงกลาง (Pyramid  or  Central  Leader)  เป็นลักษณะการตัดแต่งรูปแบบไม้ผลคล้ายกับรูปปิระมิด  มียอดนำตรงกลาง  มีกิ่งใหญ่  กิ่งรอง  ห่างกันเป็นสัดส่วน  จะทำให้กิ่งแข็งแรง  แต่จะทำให้เกิดร่มเงาภายในทรงพุ่มมาก  แสงสว่างส่องไม่ถึงแกนนำต้น  เกิดโรคได้ง่าย
          6.2  แบบไม่มียอดนำตรงกลางหรือรูปแจกัน (Vase  or Open Center)  เป็นลักษณะที่ไม่มียอดกลางเด่นชัด เช่นชมพู่  วิธีแบบนี้รักษาง่าย
          6.3  แบบมียอดนำที่ดัดแปลง (Modified  Leader)  เป็นลักษณะมียอดที่ดัดแปลงระหว่างการมียอดนำตรงกลาง  ในระหว่างระยะการตัดแต่งรูปแบบจะตัดยอดนำตรงกลางออกเล็กน้อย  เพื่อไม่ให้มียอดเด่นชัด  วิธีการตัดยอด  การตัดยอดจะคัดเลือกยอดข้างไว้  และจะทำซ้ำๆ กันไปจนได้กิ่งก้านที่กระจ่ายไปทั่วต้นตามความต้องการและเป็นกิ่งที่ให้ผลผลิตกระจายอยู่ตามพื้นดิน
          หลักทั่วไปในการตัดแต่งไม้ผล
          1)  การที่จะตัดกิ่งมากหรือน้อย  ควรจะสังเกตผลผลิตและการเจริญของต้น  ถ้ามีการตัดแต่งกิ่งพอสมควรผลผลิตก็จะสมดุล
          2)  การตัดแต่งกิ่งต้องเข้าใจตำแหน่งของตาดอก
          3)  กิ่งที่หักหรือกิ่งที่เป็นโรค  ควรตัดออกไป

7.  ข้อเสนอแนะในการผลิตไม้ผล
          7.1  การคัดเลือกชนิดของไม้ผล  โดยคำรึงถึงความต้องการในประเทศในแง่อุตสาหกรรมและการส่งออก
          7.2  การพิจารณาในแง่ความแน่นอนของผลผลิต  อุตสาหกรรม  การควบคุมโรคและแมลง  และหาวิธีขยายพันธุ์ที่เหมาะสมกับไม้ผล
          7.3  ควรมีการปรับปรุงวิธีการบรรจุหีบห่อ  การขนส่ง  และการเก็บไว้ในห้องเย็น

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ตอนที่ 1 การแข่งขัน (The Game)
บทที่ 1 สิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ (Facilities And Equipments) 
 กติกาข้อที่ 1 พื้นที่เล่นลูก (Playing Area)


        พื้นที่เล่นลูก รวมถึงสนามแข่งขันและเขตรอบสนาม พื้นที่เลนลูกต้องเป็นรูปสามเหลี่ยมผืนผ้าและเหมือนกันทุกส่วน

1.1 ขนาดของสนาม (Dimension)
      สนามแข่งขันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 18 x 9 เมตร ล้อมรอบด้วยเขตรอบสนาม กว้างอย่างน้อยที่สุด 3 เมตร
ทุกด้านที่ว่างสำหรับเล่นลูก คือ ที่ว่างเหนือพื้นที่เล่นลูก ซึ่งไม่มี สิ่งใดกีดขวาง สูงขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 7 เมตร จากพื้นสนาม สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) และการแข่งขันอย่างเป็นทางการ
เขตรอบสนามต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 5 เมตร จากเส้นข้าง 8 เมตร จากเส้นหลังและที่ว่างสำหรับเล่นลูกต้องสูงจาก
พื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 12.50 เมตร

1.2 พื้นผิวสนาม (PLAYING SURFACE)
1.2.1 พื้นผิวสนามต้องเรียบ เป็นพื้นราบและเหมือนกันตลอดทั้งสนาม ต้องไม่เป็นอันตรายจนเป็นเหตุให้ผู้เล่นบาดเจ็บ และไม่อนุญาตให้แข่งขันบนพื้นสนามที่ขรุขระหรือลื่น สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาต
ิและการแข่งขันอย่างเป็นทางการอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะพื้นผิวสนามที่เป็นไม้หรือพื้นผิวสังเคราะห์เท่านั้น พื้นผิวสนาม
อื่นใด ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลก่อนทั้งสิ้น
1.2.2 สนามแข่งขันในร่ม พื้นผิวสนามต้องเป็นสีสว่างสำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เส้นสนามต้องเป็นสีขาว ส่วนพื้นสนามแข่งขันและบริเวณเขตรอบสนามต้องเป็นสีแตกต่างกันออกไป
1.2.3 สนามแข่งขันกลางแจ้ง อนุญาตให้พื้นผิวสนามลาดเอียงได้ 1 มิลลิเมตร ต่อ 1 เมตร เพื่อการระบายน้ำ ห้ามใช้ของแข็งทำเส้นสนาม

1.3 เส้นบนพื้นสนาม (LINES ON THE COURT)
1.3.1 เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีสว่างแตกต่างจากสีของพื้นผิวสนามและเส้นอื่น ๆ
1.3.2 เส้นเขตสนาม เส้นข้าง 2 เส้น และเส้นหลัง 2 เส้น เป็นเส้นกำหนดเขตสนามแข่งขัน เส้นทั้งหมดนี้ต้องอยู่ภายในเขตของสนามแข่งขัน
1.3.3 เส้นแบ่งแดน กึ่งกลางเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามแข่งขันออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ขนาด 9 x 9 เมตร เส้นนี้ลากจากเส้นข้างด้านหนึ่งไปยังเส้นข้างอีกดานหนึ่งใต้ตาข่าย
1.3.4 เส้นรุก แต่ละแดนของสนามจะมีเส้นรุกซึ่งริมสุดด้านนอกของเส้นจะขีดห่างจากจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน 3 เมตร เป็นเครื่องหมายของเขตรุก สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เส้นรุกจะถูกขีดต่อออกไปจากเส้นข้างทั้ง 2 เส้น เป็นเส้นประ กว้าง 5 เซนติเมตร ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร 5 เส้น และเว้นช่องว่างระหว่างเส้นไว้ช่องละ 20 เซนติเมตร รวมยาวข้างละ 1.75 เมตร

1.4 เขตและพื้นที่ต่าง ๆ (Zone And Areas)
1.4.1 เขตรุก เขตรุกของแต่ละแดนจะถูกกำหนดจากึ่งกลางของเส้นแบ่งเขตแดน ไปจนถึงริมสุดด้านนอกของเส้นรุก
เขตรุก ถือเสมือนว่ามีความยาวจากเส้นทั้งสองไปจนถึงริมสุดของเขตรอบสนาม
1.4.2 เขตเสิร์ฟ เขตเสิร์ฟมีพื้นที่กว้าง 9 เมตร อยู่เลยเส้นหลังแต่ละเส้นออกไป
เส้นขนานสั้น ๆ 2 เส้น ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร เป็นเส้นกำหนดเขตเสิร์ฟ เส้นทั้งสองนี้จะตีห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร เหมือนกับแนวต่อจากเส้นข้าง และรวมอยู่ในความกว้างของเขตเสิร์ฟด้วย
ในแนวลึก เขตเสิร์ฟจะยาวออกไปจนถึงปลายสุดของเขตรอบสนาม
1.4.3 เขตเปลี่ยนตัว คือ เขตที่อยู่ภายในแนวของเส้นรุกทั้งสองเส้นไปจนถึงโต๊ะผู้บันทึกการแข่งขัน
1.4.4 พื้นที่อบอุ่นร่างกาย สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ พื้นที่อบอุ่นร่างกายขนาด 3 x 3 เมตร จะอยู่ที่นอกเขตรอบสนามตรงมุมสนามด้านเดียวกับม้านั่งของผู้เล่นสำรอง
1.4.5 พื้นที่ทำโทษ พื้นที่ทำโทษขนาดประมาณ 1 x 1 เมตร มีเก้าอี้ตั้งไว้ 2 ตัวอยู่ในพื้นที่ควบคุมการแข่งขัน (CONTROL AREA) แต่อยู่เลยแนวของเส้นหลังและมีเส้นแดงกว้าง 5 เซนติเมตร กำหนดพื้นที่

1.5 อุณหภูมิ (TEMPERATURE)
อุณหภูมิต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แสงสว่างบนพื้นที่เล่นลูกต้องมีความสว่าง 1,000 – 1,500 ลักซ์ โดยวัดที่ระดับความสูงจากพื้นสนาม 1 เมตร